ชาวบึงกาฬทำบุญเปิดประตูเมือง ฉลองจังหวัด 77
จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดที่ 77
อ.บึงกาฬ แยกจากจังหวัดหนองคาย เป็น จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดที่ 77
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก บึงกาฬ.co.cc , วิกิพีเดีย
รมว.มหาดไทยและประชาชนนับหมื่นคน ร่วมทำบุญและเปิดประตูเมืองบึงกาฬ ที่แยกตัวจาก จ.หนองคาย ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดที่ 77
นาย ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมข้าราชการและประชาชนนับหมื่นคน ร่วมทำบุญและทำพิธีเปิดประตูเมืองบึงกาฬ ที่เพิ่งได้รับการประกาศให้เป็นจังหวัดอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 23 มีนาคม 2554
สำหรับ จังหวัดบึงกาฬ มีพื้นที่ครอบคลุม 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอศรีวิไล อำเภอเซกา อำเภอบุ่งคล้า อำเภอพรเจริญ และอำเภอบึงโขงหลง โดยจังหวัดบึงกาฬนั้น มีพื้นที่รอยต่อด้านทิศะวันออกติดกับจังหวัดนครพนม ทิศตะวันตกติดกับหนองคาย ทิศใต้ติดกับสกลนคร และทิศเหนือติดกับ สปป.ลาว โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดคนแรก ชื่อ นายสมพงษ์ อรุณโรจน์ปัญญา
ทั้งนี้ ครม.มีมติให้มีการจัดตั้ง จังหวัดบึงกาฬ เป็น จังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 โดยคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตั้ง จังหวัดบึงกาฬ เป็น จังหวัดที่ 77 แล้ว โดยมีเหตุผลในการตั้งดังนี้
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก บึงกาฬ.co.cc , วิกิพีเดีย
รมว.มหาดไทยและประชาชนนับหมื่นคน ร่วมทำบุญและเปิดประตูเมืองบึงกาฬ ที่แยกตัวจาก จ.หนองคาย ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดที่ 77
นาย ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมข้าราชการและประชาชนนับหมื่นคน ร่วมทำบุญและทำพิธีเปิดประตูเมืองบึงกาฬ ที่เพิ่งได้รับการประกาศให้เป็นจังหวัดอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 23 มีนาคม 2554
สำหรับ จังหวัดบึงกาฬ มีพื้นที่ครอบคลุม 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอศรีวิไล อำเภอเซกา อำเภอบุ่งคล้า อำเภอพรเจริญ และอำเภอบึงโขงหลง โดยจังหวัดบึงกาฬนั้น มีพื้นที่รอยต่อด้านทิศะวันออกติดกับจังหวัดนครพนม ทิศตะวันตกติดกับหนองคาย ทิศใต้ติดกับสกลนคร และทิศเหนือติดกับ สปป.ลาว โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดคนแรก ชื่อ นายสมพงษ์ อรุณโรจน์ปัญญา
ทั้งนี้ ครม.มีมติให้มีการจัดตั้ง จังหวัดบึงกาฬ เป็น จังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 โดยคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตั้ง จังหวัดบึงกาฬ เป็น จังหวัดที่ 77 แล้ว โดยมีเหตุผลในการตั้งดังนี้
- จังหวัดบึงกาฬ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ในเรื่อง อำเภอ จำนวนประชากร และลักษณะพิเศษของจังหวัด อีกทั้งยังเป็นผลดีต่อการให้บริการแก่ประชาชน
- เนื้อที่และสภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดหนองคาย ก่อนแยกออกมาเป็น จังหวัดบึงกาฬ นั้น เป็นพื้นที่แนวยาวทอดตามลำน้ำโขง มีเส้นทางคมนาคมจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออกเป็นระยะทาง 350 กิโลเมตร จึงส่งผลต่อการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนได้ง่าย
- จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอำนาจเจริญ ที่ตั้งขึ้นใหม่ ก็มีเนื้อที่น้อยกว่าหลักเกณฑ์มติคณะรัฐมนตรีเช่นกัน
- นอกจากนี้ จังหวัดบึงกาฬ ไม่ใช่หน่วยงานที่ดำเนินกิจการบริการสาธารณะ ซ้ำซ้อนกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงไม่กระทบต่อแนวทางการกระจายอำนาจให้กับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นแต่อย่างใด
- ส่วนเรื่องบุคลากร ที่มีอยู่จำนวน 439 อัตรา ก็สามารถกระจายกันภายในส่วนราชการได้ จึงไม่เป็นผลกระทบและภาระต่องบประมาณของประเทศมากนัก
สำหรับบึงกาฬเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดหนองคาย และห่างจากตัวจังหวัดไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 136 กิโลเมตร มี เขตพื้นที่ติดต่อกับแม่น้ำโขง และแขวงบริคำไชย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีการแบ่งการปกครองออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การปกครองส่วนภูมิภาคและการปกครองส่วนท้องถิ่น
ทั้งนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2537 นายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคาย ได้ทำเรื่องขอให้มีการตั้ง บึงกาฬ เป็น จังหวัดที่ 77 ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้มีการพิจารณาว่า ยังไม่มีแผนที่จะยกฐานะอำเภอบึงกาฬขึ้นเป็น จังหวัดบึงกาฬ เพราะการจัดตั้ง จังหวัดใหม่เป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกำลังคนภาครัฐซึ่งขัดมติคณะรัฐมนตรี
ต่อมาในปี พ.ศ.2553 กระทรวงมหาดไทยได้นำเรื่องการจัดตั้ง จังหวัดบึงกาฬ เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง และล่าสุดคณะรัฐมนตรีก็มีมติให้ทำการจัดตั้ง จังหวัดบึงกาฬ เป็น จังหวัดที่ 77 ของไทย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น