nice to miss you:))

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

แผ่นดินไหวพม่า อุตุฯ เตือนประชาชนระวังอาฟเตอร์ช็อก

แผ่นดินไหวพม่า อุตุฯ เตือนประชาชนระวังอาฟเตอร์ช็อก


แผ่นดินไหวพม่า

แผ่นดินไหวพม่า แรงสั่นสะเทือนถึงภาคเหนือของไทย

แผ่นดินไหวพม่า

แผ่นดินไหวพม่า แรงสั่นสะเทือนถึงภาคเหนือของไทย

แผ่นดินไหวพม่า

แผ่นดินไหวพม่า แรงสั่นสะเทือนถึงภาคเหนือของไทย


           กรมอุตุฯ เผยแผ่นดินไหวประเทศพม่ารุนแรงมาก เตือนประชาชนระวังอาฟเตอร์ช็อก และห้ามเข้าพื้นที่ แตกร้าว ประสานกรมทรัพยากรกรณีตรวจพื้นดินแล้ว ขณะที่ล่าสุด พบผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวพม่าแล้ว 25 ราย คาดมีอย่างน้อย 60 คน

           จาก เหตุการณ์แผ่นดินไหวความรุนแรง 6.7 ริกเตอร์ ที่มีจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณชายแดนประเทศพม่าซึ่งส่งผลให้เกิดแรงสั่น สะเทือนมาถึงบริเวณภาคเหนือเรื่อยลงมาจนถึงกรุงเทพฯ เมื่อเวลา 20.55 น. ของวันที่ 24 มีนาคม 2554 ล่าสุด สำนักข่าวเอเอฟพี (AFP) รายงานว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 25 คนแล้ว จากเมื่อคืนที่มียอดผู้เสียชีวิตเพียง 10 คน

           รายงานระบุว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณชายแดนประเทศพม่า ไทย และลาวนั้น ทำให้บ้านพังถล่ม และข้าวของตกลงมากระจัดกระจายอยู่บนพื้น ซึ่งทำให้ประชาชนหลายรายได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากการถล่มของบ้านเรือน โดยขณะนี้ ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวมากกว่า 10  รายแล้ว และคาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 25 คน รวมทั้งเด็กเล็กและคนชรา

           ทั้ง นี้ เหตุการณ์แผ่นดินไหวในชายแดนพม่า ได้ส่งผลให้เกิดแรงสั่นสะเทือนกินบริเวณกว้าง รัศมี 800 กิโลเมตรจากจุดศูนย์กลาง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประเทศเวียดนาม จีน ลาว และประเทศไทย รวมถึงกรุงเทพมหานครก็ได้รับแรงสั่นสะเทือนเล็กน้อยด้วย

          โดยที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนามนั้น ประชาชนรู้สึกถึงแรงสั่นไหวขนาดไม่รุนแรงได้เป็นเวลาหลายวินาที และรีบวิ่งหนีออกมาจากบ้านเรือน โดยชาวเวียดนามรายหนึ่งที่อาศัยอยู่บนชั้น 10 ของอาคารแห่งหนึ่ง ระบุว่า เธอเห็นตู้ปลา และภาพวาดบนฝาผนังห้องแกว่งไปแกว่งมา จึงทราบว่าเกิดแผ่นดินไหวขึ้น

          ด้าน นายดินห์ ก็อก วาน รองผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังแผ่นดินไหวเวียดนาม กล่าวว่า สามารถตรวจวัดระดับการสั่นไหวในกรุงฮานอยได้ประมาณ 5.0 ริกเตอร์ และไม่พบรายงานความเสียหายใด ๆ

แผ่นดินไหวพม่า


          ส่วนที่ ประเทศพม่านั้น มีรายงานว่า บ้านเรือนในเขตเมืองเชียงตุง รวมทั้งถนนและสะพานถล่มเสียหายจำนวนมาก และชาวบ้านได้ทยอยขอรับบริจาคโลงศพจากวัดของหมู่บ้านออกไปแล้ว 60 หีบ โดยเชื่อว่า ยังมีประชาชนรอรับการช่วยเหลืออีกนับพันคน แต่อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ทางการพม่ายังไม่ได้ออกประกาศเตือนภัยใด ๆ ทั้งสิ้น

          โดยเครือข่ายปฏิบัติงานสตรีไทยใหญ่ (SWAN) เผยว่า หลายพื้นที่ในรัฐฉานได้รับความเสียหายอย่างมาก และชาวบ้านก็หวาดผวาเป็นอย่างมาก คาดว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 60 คน ที่อำเภอท่าเดื่อ และบางครอบครัวอาจเสียชีวิตยกครัว

           ขณะที่ สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ของไทย รายงานการเหตุการณ์แผ่นดินไหว มีศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศพม่า ห่างจากทางทิศเหนือ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณ 30 กิโลเมตร วัดการสั่นสะเทือนตามมาตราริกเตอร์ได้ ขนาด 6.7 ริกเตอร์ โดยการเกิดแผ่นดินไหวประชาชนในพื้นที่ ตั้งแต่ อ.แม่สาย ลงมาถึง ตัวเมืองเชียงราย และอำเภออื่น ๆ สามารถรับรู้กับการสั่นสะเทือนได้ และหลังจากนั้น

           เวลา 21.23 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.2 ริกเตอร์
           เวลา 22.15 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.8 ริกเตอร์
           เวลา 22.18 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.7 ริกเตอร์
           เวลา 22.54 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.2 ริกเตอร์
           เวลา 23.15 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.0 ริกเตอร์
           เวลา 00.20 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.2 ริกเตอร์

           ต่อ มาตั้งแต่ในเวลา 02.15 น. เป็นต้นมาจนถึงช่วงเช้าของวันที่ 25 มีนาคม ยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมา อีกกว่า 40 ครั้ง ขนาด 3.0-6.2 ริกเตอร์

          ด้าน นายบุรินทร์ เวชบันเทิง ผู้อำนวยการส่วนเฝ้าระวังและติดตามแผ่นดินไหวและสึนามิ กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ เนื่องมาจากรอยเลื่อนที่อยู่ใต้พื้นทวีปเกิดการเคลื่อนตัวส่งผลให้เกิดการ สั่นสะเทือนบนพื้นดิน แต่ยืนยันว่า ไม่ใช่ผลกระทบจากเหตุภัยพิบัติสึนามิที่ญี่ปุ่นอย่างแน่นอน นอกจากนี้ แรงสั่นสะเทือนยังส่งผลกระทบต่ออาคารสูงในกรุงเทพมหานครอีกด้วย สาเหตุจากสภาพพื้นดินบริเวณของกรุงเทพมหานครเป็นดินอ่อน จึงทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนได้ง่าย

          นายบุรินทร์ กล่าวต่อว่า หลังจากเกิดแผ่นดินไหวที่พม่า ก็ได้เกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมา 56 ครั้งตลอดคืน โดยเป็นอาฟเตอร์ช็อกที่มีแรงสั่นสะเทือนเกิน 5.0 ริกเตอร์ 6 ครั้ง โดยครั้งที่แรงที่สุดวัดได้ 5.5 ริกเตอร์ เมื่อเวลา 07.22 น. ของวันนี้ (25 มีนาคม)

          อย่างไรก็ตาม อยากแนะนำว่า หลังจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ควรเพิ่มมาตรการการป้องกัน รวมถึงออกแบบสิ่งก่อสร้างที่สามารถรองรับการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวด้วย





          ขณะที่นาย ต่อศักดิ์ วานิชขจร อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวถือว่ารุนแรงมาก เนื่องจากเกิดบนรอยเลื่อนในประเทศพม่า ที่มีศูนย์กลางใกล้กับประเทศไทยคือ 56 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอแม่จัน เพียง 30 กิโลเมตร ทำให้รับรู้แรงสั่นสะเทือน จนเกิดความเสียหายในหลายจังหวัด ทางภาคเหนือของไทย และเชื่อมโยงมาถึงอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร ซึ่งหลังเกิดแผ่นดินไหวนั้น ก็มีผลพ่วงทำให้เกิดอาฟเตอร์ช็อก ตามมาอีกนับ 100 ครั้ง ทั้งที่นับได้และนับไม่ได้ โดยกว่า 40 ครั้งพบว่า มีขนาด 3 - 6.2 ริกเตอร์

          อย่างไรก็ตาม สำหรับการเกิดอาฟเตอร์ช็อกนั้น จะมีต่อเนื่องทั้งวัน จึงขอเตือนประชาชน หากพบว่าบ้านมีรอยร้าวที่เกิดจากแผ่นดินไหว ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่อาศัย เพราะอาจได้รับผลกระทบ จากการเกิดอาฟเตอร์ช็อกได้ ควรรอให้นักธรณีวิทยาเข้าไปตรวจสอบจนกว่าจะยืนยันว่าปลอดภัย

          นอกจากนี้ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ยังกล่าวด้วยว่า การเกิดแผ่นดินไหวดังกล่าวนั้น อาจส่งผลกระทบต่อรอยเลื่อนในอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลง จึงเร่งประสานไปยังกรมทรัพยากรธรณีให้เข้าไปสำรวจแล้ว

          ด้าน นายเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักธรณวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กล่าวว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงเทียบเท่ากับระเบิดปรมาณู 6 ลูก และถือเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในประเทศไทย เพราะทำให้มีผู้ เสียชีวิต 1 คน จากเหตุแผ่นดินไหวโดยตรง นอกจากนี้ นายเลิศสิน ยังระบุอีกว่า สาเหตุที่ในกรุงเทพฯ สามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวได้มากกว่าจังหวัดพิษณุโลก หรืออุตรดิตถ์ที่อยู่ใกล้กับพม่า และเชียงรายมากกว่า เป็นเพราะชั้นดินในกรุงเทพฯ อ่อนกว่า

          ส่วนความเสียหาย ทาง ปภ.เชียงแสน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะได้ออกสำรวจความเสียหายเพิ่มเติมในตั้งเช้าวันที่ 25 มีนาคม เป็นต้นไป ทั้งนี้ จังหวัดเชียงราย เคยได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวเช่นนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2550 เกิดแผ่นดินไหว ในประเทศลาว ห่างจาก อ.เชียงของ จ.เชียงราย ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 60 กม. ความแรง 6.1 ริกเตอร์ ซึ่งครั้งนั้นสร้างความเสียหายให้กับ อาคาร บ้านเรือนประชาชน ในพื้นที่ อ.เชียงของ จำนวนมาก รวมไปถึงโบราณสถานที่ อ.เชียงแสนด้วย




         

แผ่นดินไหวไทย

แผ่นดินไหวไทย
แผ่นดินไหวครั้งที่ 1

แผ่นดินไหวไทย
แผ่นดินไหวครั้งที่ 1, 2 และ 3
(กรอบสีฟ้าใหญ่สุดคือครั้งที่ 1 กรอบสีฟ้าอันเล็กคือครั้งที่ 2 และกรอบสีแดงคือครั้งล่าสุด) 
 
ที่มา:http://hilight.kapook.com/view/57375

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น